บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สติปัฏฐาน 4 แบบมหาโชดก

หนังสือมักกะลีผล ตอนที่ 88 ได้พามหาโชดกกับพระเจริญไปถึงวัดปากน้ำ และมีการบรรยายถึงการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลังจากที่ไปเรียนสติปัฏฐาน 4 ของมหาโชดกมาแล้ว ดังนี้

หลังจากไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุแล้ว หลวงพ่อสดใช้เวลาในการโปรดญาติโยมให้น้อยลง โดยลงรับแขกชั่วโมงเดียว คือ บ่ายโมงถึงบ่ายสองโมง

ต่อจากนั้น จะทรงน้ำ แล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 ตามที่ได้ร่ำเรียนมาจากสำนักวัดมหาธาตุ

หนังสือมักกะลีผลตอนนี้ เป็นความโง่ที่ให้อภัยตัวเองไม่ได้ของสุทัสสา อ่อนค้อมเอง ที่ต้องการให้พระเจริญเป็นพระเอกมากเกินไป

ถึงกับไปบิดเบือนเรื่องที่เกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ทั้งๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับหลวงพ่อไม่ได้มากมายนัก

สุทัสสา อ่อนค้อมโจมตีเสมอว่า วิชาธรรมกายไม่ได้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน แต่สุทัสสา อ่อนค้อมไม่เคยอธิบายได้เลยว่า

“วิชาธรรมกายไม่เป็นวิปัสสนากรรมฐานอย่างไร”

สุทัสสา อ่อนค้อมโจมตีไปลอยๆ เหมือนคนไม่มีความรู้ ถ้าเปรียบเทียบกับผมเอง ที่ผมยืนยันมาเสมอว่า การปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอไม่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ผมอธิบายเหตุผลไว้อย่างเรียบร้อย

ถึงแม้สติปัฏฐาน 4 เอง ผมก็บอกเสมอว่า ไม่ได้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน เพราะ พระพุทธโฆษาจารย์ท่านไม่ได้จัดไว้

พระพุทธโฆษาจารย์ท่านหัวข้อธรรมะว่าเป็นวิปัสสนากรรมฐาน 6 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

ขันธ์ 5
อายตนะ 12
ธาตุ 18
อินทรีย์ 22
อริยสัจ 4
ปฏิจจสมุปบาท 12

หลักฐานอีกประการหนึ่งที่ผมยกขึ้นมายืนยันเสมอๆ ก็คือ วิปัสสนา แปลว่า “เห็นแจ้ง” 

การปฏิบัติธรรมแบบยุบหนอพองหนอ เน้นเดินจงกรมไป พิจารณาอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อยไป เพื่อให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลา พร้อมๆ กับพิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วย มันจะเป็นการเห็นแจ้งไปได้อย่างไร

พระมหาสีสะยาดอว์เอง เมื่อคำวิธีปฏิบัติแบบนี้ขึ้นมาได้ ไม่รู้ว่าจะจัดเข้าไปตรงไหน ก็จับยัดเข้าไปในสติปัฏฐาน 4

แล้วก็ทะลึ่งบอกว่า สติปัฏฐาน 4 ก็เป็นวิปัสสนากรรมฐานด้วย  มันมั่วกันไปหมด เพราะ สติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน

สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

คำหัวใจสำคัญและคำแปลก็คือ คำชุดนี้

กายานุปัสสนา [กาย + อนุปัสสนา]
การเห็นกายในกาย
เวทนานุปัสสนา [เวทนา + อนุปัสสนา]
การเห็นเวทนาในเวทนา
จิตตานุปัสสนา [จิต + อนุปัสสนา]
การเห็นจิตในจิต
ธรรมมานุปัสสนา [ธรรม + อนุปัสสนา]
การเห็นธรรมในธรรม

ผมก็ยังไม่เห็นตำราเล่มใดของสายยุบหนอพองหนออธิบายให้เห็นชัดๆ เสียทีว่า  การเห็นกายในกาย การเห็นเวทนาในเวทนา การเห็นจิตในจิต การเห็นธรรมในธรรม ของสายยุบหนอพองหนอเป็นอย่างไร

เห็นแต่อธิบายมั่วไปมั่วมา เฉพาะ “กายในกาย” แบบหาสาระอันใดไม่ได้ แบบโคตรมั่วเสียด้วย คือ มักจะอธิบายว่า การเดินไปเดินมาก็คือเป็นการพิจารณากายในกายแล้ว

แต่สติปัฏฐานสูตรนั้น มีข้อความด้านล่างนี้อยู่ด้วย และอยู่ครบทุกหัวข้อ คือ

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

ผมเองไม่เคยพบเคยเห็นเอกสารตำราของสายยุบหนอพองหนอที่จะสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่า พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง นั้นเป็นอย่างไร

สำหรับหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น มีคำสอนของวิปัสสนากรรมฐานไว้อย่างแน่นหนา แบบอ่านแล้วปฏิเสธไม่ได้เลย

ในหนังสือมรรคผลพิสดาร หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไว้ ดังนี้

ขันธ์ ๕ 
อายตนะภายใน ๖
อายตนะภายนอก ๖
ธาตุ ๑๘
อินทรีย์ ๒๒
อริยสัจจ์ ๔
วิธีพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม

จะเห็นว่า วิชาธรรมกายมีคำสอนหัวข้อธรรมะที่เป็นวิปัสสนากรรมฐานไว้ครบทุกข้อ

แล้วอย่างนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำจะไปฝึก “สติปัฏฐาน 4 แบบมหาโชดก” ได้อย่างไร ในเมื่อตำราก็ไม่มี อธิบายก็ไม่ได้

ไอ้การเดินจงกรมไป เดินจงกรมมา พิจารณาอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อยไป เพื่อให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลา พร้อมๆ กับพิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วยนั้น  มันไม่ใช่วิปัสสนา

กลับมาถึงข้อความที่ยกไปเบื้องต้น ที่สายยุบหนอพองหนออธิบายไม่ได้เลย คือ

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

วิชาธรรมกายสามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วน ทำได้จริงด้วย  ขอยกตัวอย่างง่ายๆ แค่กายละเอียดที่เป็นกายโลกียะ จำนวน 4 กายคือ

1) กายมนุษย์
2) กายทิพย์
3) กายรูปพรหม
4) กายอรูปพรหม

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง คือ การทำวิชาที่เราเห็นตั้งแต่กายมนุษย์เข้าไปจนถึงกายอรูปพรหมของเราเอง

พิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอกบ้าง คือ การทำวิชาของเราที่ทำให้เห็น กายทิพย์ กายรูปพรหม หรือกายอรูปพรหมของคนอื่น

ตรงนี้ บางคนอาจะสงสัยว่า วิชาธรรมกายทำไปทำไม

คำตอบก็คือ นอกจากจะเป็นการฝึกสติปัฏฐาน 4 แล้ว เรายังตรวจสอบได้ว่า บุคคลดังกล่าวนั้น เป็นคนดี หรือคนเลว เพราะ กายละเอียดของเขาจะบอก

อีกประการหนึ่งก็คือ การที่ใช้วิชาธรรมกายรักษาโรคของคนอื่น เราก็ต้องเข้าไปทำที่กายละเอียดของเขา

พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง ก็คือ กายกายละเอียดต่างๆ มีละเอียดเป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ฯลฯ นับไม่ถ้วน 

สมมุติว่า เราอยู่ที่กายรูปพรหม และดูกายทิพย์ของเราเอง ก็เป็นการดูกายในกาย ณ ภายนอกในตัวของเรา แต่ถ้าเป็นการดูกายอรูปพรหม ก็เป็นการดูกายในกาย ณ ภายในของเรา  ของคนอื่นก็ลักษณะเดียวกัน

จากที่เขียนมาถึงตอนนี้ ขอยืนยันว่า “สติปัฏฐาน 4 แบบมหาโชดกไม่มีจริง เป็นความโง่งี่เง่าของพระโชดกเองที่ไปเชื่อพระพม่า ทั้งๆ ที่พระพม่าสอนผิด..........


ก็สมควรแล้วที่มหาโชดกตกอบายภูมิอยู่  ก็สาสมกับความโง่ของท่านแล้ว เกิดมาเสียชาติเกิดไปหนึ่งชาติ พร้อมกับขาดทุนด้วย.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น