บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

วิชาธรรมกายเป็นสมถกรรมฐาน

สุทัสสา อ่อนค้อมยังหากรรมชั่วใส่ตัวอีก ในการบรรยาย ดังต่อไปนี้

วิชาธรรมกายนั้นคือ สมถกรรมฐาน หมายถึง อุบายทำให้จิตสงบ ขณะปฏิบัติจงเกิดนิมิตเครื่องหมายมากมาย

การที่จะสำเร็จวิชาธรรมกาย ผู้ปฏิบัติจะเกิดนิมิตที่เต็มไปด้วยแสงสว่างเจิดจ้า และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็จะได้อิทธิฤทธิ์ทางใจ ที่เรียกว่า มโนมยิทธิ

ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้ความเกิดความสำเร็จทางโลกได้ เช่น ทำให้มั่งคั่งร่ำรวย ช่วยดับทุกข์จรได้ แต่ดับทุกข์ประจำไม่ได้

ดังที่หลวงพ่อสดอธิบาย วิชาความรู้ก็เหมือนดาบสองคม หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็ทำให้เกิดโทษได้

ลูกศิษย์บางคนเรียนวิชาธรรมกายไปแล้ว กลับไปยึดติดถือมั่น เกิดมิจฉาทิฎฐิ คือ เห็นผิดไปว่า อัตตาตัวตนนั้นมีอยู่

จึงขัดกับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสสอนว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น (หนังสือมักกะลีผล เล่ม 2 หน้า 1134)

ตรงนี้ ขออธิบายให้ลึกลงไปอีกหน่อย คือ จะอธิบายถึงความผิดพลาดที่มีมาตั้งแต่พระมหาสีสะยาดอว์เลย

พระพม่านั้น ชอบท่องจำพระไตรปิฎก ปัจจุบันยังมีพระพม่าที่จำพระไตรปิฎกได้หมดหลายรูป หมายความจำพระไตรปิฎกได้หมดเลย

แต่การท่องจำพระไตรปิฏกได้ ไม่ได้หมายความว่า จะมีความเข้าใจหรือปฏิบัติธรรมได้อย่างลึกซึ้ง

มันก็แค่จำได้เท่านั้น

เถรใบลานเปล่า มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าแล้ว

พระพม่าเข้าใจผิดว่า วิปัสสนากรรมฐานสามารถทำให้ไปนิพพานได้ ซึ่งมันไม่จริง  เพราะ ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นเพียงวิชาพื้นฐานเท่านั้น 

ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 25 ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย หัวข้อ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความรู้ (วิชชาภาคิยะ) มีข้อความ ดังนี้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา (วิชชาภาคิยะ) ๒ อย่างเหล่านี้ คือ สมถะ(ความสงบ) ๑ วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ๑.

สมถะ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้จิตได้รับการอบรม จิตได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละราคะ (ความกำหนัดยินดี หรือความติดอกติดใจ) ได้

วิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมทำให้ปัญญาได้รับการอบรม, ปัญญาได้รับการอบรมแล้ว ย่อมทำให้ละอวิชชา (ความไม่รู้ตามความจริง) ได้."

จากข้อความของพระสูตรดังกล่าว จะเห็นว่า สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นเพียง “วิชชาพื้นฐาน”  ในศาสนาพุทธยังมีหัวข้อธรรมะที่จะต้องศึกษาอีกมาก เช่น โพธิปักขยธรรม เป็นต้น

ประการสำคัญที่สุดเลยก็คือ การจะบรรลุนิพพานได้ จะต้องผ่านวิชชา 3 ในพระไตรปิฎกมีหลักฐานชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิชชา 3


การที่มีพระพม่า เช่น พระมหาสีสะยาดอว์ที่คิดว่า จะบรรลุพระอรหันต์ด้วยการเดินจงกรมไปมา ทำสติให้รู้ตัวอยู่เสมอ คิดเพ้อฝันเรื่องไตรลักษณ์ไปด้วย  

ผลที่ออกมาก็คือ ทะลุลงไปข้างล่างโน่น อบายภูมิโน่น 

มหาโชดกก็ตามไป คุณสิริ กรินชัยก็ตามไป สมน้ำหน้าทั้งนั้น  เดี๋ยวสุทัสสา อ่อนค้อมก็ต้องตามไป สมน้ำหน้ายกกำลังสองขึ้นไปอีก

ดังนั้น ในการจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น ก็ต้องผ่านทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน แล้วก็ต้องเรียนวิชาหรือหัวข้อธรรมะที่สูงๆ ขึ้นไปอีก

วิชาธรรมกายมีทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และหัวข้อธรรมะที่ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานครบถ้วน  มีตำราเผยแพร่  มีหลักปฏิบัติให้ปฏิบัติตามได้

ลองไปหาอ่านดูได้ที่นี่

01-ทางมรรคผล 18 กาย
02-คู่มือสมภาร
03-วิชชามรรคผลพิสดาร
04-วิชชามรรคผลพิสดาร ๒

สายยุบหนอพองหนอนั่นแหละ มีแต่คำคุยโม้โอ้อวด ไม่ได้มีวิชาอะไรเลย  มั่วทั้งพระพม่าทั้งพระไทย

กลับมาดูที่ข้อความของหนังสือมักกะลีผลในส่วนนี้อีกหน่อย

วิชาธรรมกายนั้นคือ สมถกรรมฐาน หมายถึง อุบายทำให้จิตสงบ ขณะปฏิบัติจงเกิดนิมิตเครื่องหมายมากมาย

ข้อความนี้ “มั่ว”  วิชาธรรมกายไม่ค่อยมีนิมิตลวงมากนัก คือ กล่าวโดยตัววิชาธรรมกายเอง ถ้าผู้เรียนทำตามหลักสูตร ไม่คิดแผลงๆ ดัดแปลงวิชา ผสมวิชา  รับรองไม่มีนิมิตลวง

แต่ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เพราะ ผู้ปฏิบัติที่เกิดนิมิตลวงมักจะไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงมีโอกาสเกิดนิมิตลวงได้ แต่เกิดขึ้นน้อยมาก

นิมิตที่วิชาธรรมกายใช้นั้น ใช้ครั้งแรกครั้งเดียว คือ ก่อนเกิดดวงปฐมมรรค  เมื่อไหร่เห็นดวงปฐมมรรคแล้ว  วิชาธรรมกายไม่ใช้นิมิตอีกแล้ว

ดวงธรรม กายธรรม หัวข้อธรรมะที่เป็นดวงทั้งหลาย เป็นของจริงทั้งสิ้น ไม่ใช่นิมิต แล้วนิมิตของวิชาธรรมกายก็ไม่ใช่สว่างจ้าเป็นไฟฟ้าสนามกีฬา  เราจะกำหนดให้เป็นดวงใสเท่านั้น

คนที่ปฏิบัติใหม่ๆ บางคนเห็นดวงธรรมแล้ว  แต่ดวงธรรมนั้น สว่างมาก พอไปเล่าให้คนอื่นฟัง คนฟังก็นึกว่า เป็นแสงสว่างแบบไฟฟ้า ซึ่งมันไม่ใช่อย่างนั้น

การที่จะสำเร็จวิชาธรรมกาย ผู้ปฏิบัติจะเกิดนิมิตที่เต็มไปด้วยแสงสว่างเจิดจ้า

อันนี้ก็ไม่จริง วิชาธรรมกายจะสำเร็จก็ตามหัวข้อธรรมะในพระไตรปิฎก ไม่ได้มีหนทางสำเร็จต่างหาก คือ ก็ต้องผ่านสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โพธิปักขยธรรม ผ่านวิชชา 3 ผ่านมรรค 8 ผ่านอริยสัจ 4

ที่บรรยายมาทั้งนั้น ไม่ใช่ “เกิดนิมิตที่เต็มไปด้วยแสงสว่างเจิดจ้า” อย่างที่สุทัสสา อ่อนค้อมหลับหูหลับตาเขียนมา

และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็จะได้อิทธิฤทธิ์ทางใจ ที่เรียกว่า มโนมยิทธิ ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้ความเกิดความสำเร็จทางโลกได้ เช่น ทำให้มั่งคั่งร่ำรวย ช่วยดับทุกข์จรได้

แต่ดับทุกข์ประจำไม่ได้

อันนี้ก็ไม่จริง  วิชาธรรมกายแบบจะไม่เคยเอ่ยถึงคำว่า “มโนมยิทธิ” ที่เอ่ยถึงคำนี้บ่อยๆ เป็นสายนะมะพะทะของฤาษีลิงดำ

พูดง่ายๆ เลยก็คือ วิชาธรรมกายไม่ได้เน้นอภิญญา  ถ้าถามว่ามีสอนไหม ก็ตอบว่ามี  แต่หลวงพ่อไม่เคยเน้นไปทางนั้น และไม่ได้เน้นถึงความร่ำรวย

แต่คนที่มาหาหลวงพ่อแล้ว เอารูปหลวงพ่อไปบูชา เขาทำมาค้าขายดี  ร้านทองจึงเอาไปติดที่ร้าน รถโดยสารจึงเอาไปติดที่รถ


โดยเนื้อหาวิชาธรรมกายเอง ไม่ได้เน้นถึงความร่ำรวย....................




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น