บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด


หนังสือมักกะลีผลมีทั้งหมด 96 บท แบ่งออกเป็น 2 เล่ม หนังสือต้นฉบับที่ผมนำมาวิเคราะห์วิจารณ์นี้ เป็นชุดที่พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2539  จัดจำหน่ายโดย ธรรมสภา

หนังสือมักกะลีผลเป็นชีวประวัติของหลวงพ่อเจริญ/หลวงพ่อวัดอัมพวันตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงก่อนที่จะไปอยู่วัดป่ามะม่วง/วัดอัมพวัน

หนังสือมักกะลีผลจบที่ย่อหน้านี้

หลังจากโยมยายถึงแก่กรรมได้สองปี พระเจริญก็ได้รับคำสั่งจากรมการศาสนา ให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสที่วัดป่ามะม่วง เพราะ เจ้าอาวาสองค์เดิมถึงแก่มรณภาพด้วยโรคฝีในท้อง

พระหนุ่มยินดีที่จะได้ย้ายวัด มิใช่ยินดีที่ได้รับตำแหน่ง แต่เพราะท่านเห็นว่า นั่นเป็นโอกาสที่จะได้สอนวิปัสสนากรรมฐานได้อย่างเต็มที่ เพราะ การสอนที่วัดพรหมบุรีนั้น ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

จริงอยู่ แม้หลวงพ่อช่อผู้เป็นสมภารจะไม่ขัดขวาง ด้วยเห็นว่า เป็นความต้องการของญาติโยม แต่ท่านก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนค้ำจุนเท่าที่ควร

พระเจริญคิดว่า ท่านจะสร้างวัดป่ามะม่วงให้เป็นสำนักสอนวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงเหมือนวัดมหาธาตุ ท่านพระจันทร์นั่นเทียว.........

หนังสือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” เป็นหนังสือที่หลวงพ่อเจริญเป็นเจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงแล้ว และจบลงที่ตรงนี้

รถที่มารับท่านพระครูเป็นรถสองแถวเก่า ๆ เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงนั่งหน้าคู่กับคนขับ ส่วนอุบาสกในชุดนุ่งขาวห่มขาวที่มาด้วย ได้ย้ายมานั่งข้างหลัง

รถแล่นออกจากวัดตรงไปยังถนนสายเอเชีย เมื่อถึงทางแยกเข้าจังหวัดลพบุรี คนขับจึงชิดขวาเตรียมตัวเลี้ยว ถนนฝั่งตรงข้ามมีรถวิ่งมาหลายคัน จึงต้องหยุดรอจังหวะที่จะเลี้ยว

ขณะนั้น รถทัวร์ของบริษัททันจิต วิ่งแซงรถคันอื่นมาด้วยความเร็วสูงถึง ๑๔๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง คนขับมองไม่เห็นรถสองแถวที่เปิดไฟเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้า

จึงชนโครมเสียงดังก้องราวกับฟ้าถล่ม

ร่างของภิกษุวัยห้าสิบเศษ กระเด็นออกจากตัวรถในลักษณะถลาร่อนดุจเดียวกับนกที่ถูกยิง ลอยละลิ่วไปตกลงบนพื้นถนน ห่างจากตัวรถถึงยี่สิบวา คอหักพับลงมาถึงราวนม หนังศีรษะเปิดตั้งแต่หน้าผากถึงท้ายทอย

ท่านพระครูเจริญได้ชดใช้กรรมของท่านอย่างกล้าหาญที่สุด เมื่อเวลาสิบสองนาฬิกาสี่สิบห้านาที ของวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๑.

จบบริบูรณ์….

คนที่ไม่รู้ประวัติของหลวงพ่อวัดอัมพวัน เมื่ออ่านตอนจบของหนังสือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” คงคิดว่าหลวงพ่อวัดอัมพวันคงมรณภาพแล้ว  แต่ความเป็นจริงท่านยังไม่ตาย

คอที่หักของท่านนั้น มาต่อได้ใหม่เอง เมื่อนางพยาบาลเข็นรถตกร่องพื้นของโรงพยาบาลซึ่งเป็นไม้

เรื่องนี้ เมื่อผมบวชอยู่ที่วัดอัมพวันนั้น หลวงพ่อวัดอัมพวันเล่าให้ฟังบ่อยมาก และผมก็รู้เรื่องและเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะ โรงพยาบาลสิงห์บุรีผมไปบ่อย

ระแวกนั้น ผมรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นเด็กชัยนาท และมาเป็นครูที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งใกล้กับวัดอัมพวันมาก

ที่เล่ามาข้างต้นนั้น ก็เพื่อจะปูพื้นฐานให้ผู้อ่านเข้าใจว่า หนังสือมักกะลีผลนั้น ผู้แต่งแต่งทีหลังก็จริง แต่เป็นเรื่องที่เกิดก่อนหนังสือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” 

ผู้แต่งพยายามจะให้เรื่องมันต่อกัน แต่ก็ยังต่อกันไม่ได้ ผู้เขียนจึงไปเขียนเรื่อง “นารีผล” ต่อ เพื่อให้เนื้อเรื่องต่อเนื่องกับหนังสือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ในหนังสือมักกะลีผลจำนวน 2 เล่มนั้น เนื้อหาที่เกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ และส่งผลให้สุทัสสา อ่อนค้อมต้องไปอบายภูมินั้น อยู่ในเล่ม 2 เป็นส่วนใหญ่ ในเล่ม 1 มีเนื้อหาถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำดังนี้

คุณเจริญหรือหลวงพ่อวัดอัมพวันตอนเป็นหนุ่มยังไม่บวช และไปเรียนดนตรีไทยที่บ้านครูจำนงค์  แล้วไปมีเรื่องกับหลวงตาวัดโตนด ซึ่งเป็นพระ

มาอาศัยผ้าเหลืองหากิน เพราะ ไม่ปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ เป็นต้นว่า แอบกินยาฝิ่น ชอบต่อนกเขา กินข้าวค่ำ” (มักกะลีผล เล่ม 1 หน้า 513)

คุณเจริญมีเรื่องต่อปากต่อคำกับหลวงตาวัดโตนด ตั้งแต่ก่อนเข้าไปเรียนดนตรีไทยกับครูจำนงค์ เมื่อเรียนจบแล้วจะกลับบ้าน ก็รอไปรอเรือที่หน้าวัดโตนด ก็ถูกลูกศิษย์ของหลวงตาวัดโตนดรุมทำร้ายจนสลบไป

ก่อนจะสลบไปนั้น นายหมั่น หมอชาวจีน ซึ่งพายเรือไปขายมะพร้าวผ่านมาจึงช่วยเอาไว้ แล้วพาไปรักษาตัวที่บ้าน

เรื่องของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ปรากฏในหนังสือมักกะลีผลเล่ม 1 นั้น เกิดจากเหตุการณ์ที่คุณเจริญคุยกับเจ๊ใหญ่ ลูกสาวคนโตจองจีนหมั่น  เจ๊ใหญ่พูดว่า

เตี่ยสอนเสมอว่า ไม่ให้หวงกันกิน หลวงพ่อวัดปากน้ำ สอนเตี่ยว่า ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด หมดก็ไม่มา ถ้าเราไม่หวงกัน เราก็ไม่อด หมดก็มาเรื่อยๆ

(มักกะลีผล เล่ม 1 หน้า 546)

เรื่องของเรื่องก็คือ จีนหมั่นเคยบวชที่วัดปากน้ำ

สำหรับข้อความที่ว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด หมดก็ไม่มา ถ้าเราไม่หวงกัน เราก็ไม่อด หมดก็มาเรื่อยๆ” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น ถูกเขียนถึงอีก 2-3 ครั้งในหนังสือมักกะลีผล ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า สุทัสสา อ่อนค้อมยอมรับว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำมีพฤติกรรมเป็นอย่างนั้นจริง

เรื่องนี้ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น เพราะ ในยุคนั้น วัดปากน้ำรับเลี้ยงทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งฆราวาสน่าจะมากที่สุดในกรุงเทพฯ แล้ว 

นอกจากนั้นแล้ว ยังจะมีโรงเรียนให้เด็กชาวบ้านแถวนั้นเรียนอีก

โดยสรุป ในหนังสือมักกะลีผลเล่ม 1 มีเรื่องถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ แต่ก็เป็นเรื่องดีของหลวงพ่อ สำหรับเรื่องของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ทำให้สุทัสสา อ่อนค้อมจะต้องไปอบายภูมิอยู่ในหนังสือมักกะลีผล เล่ม 2 .............

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผมเพิ่งค้นพบว่า ข้อความที่ว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด หมดก็ไม่มา ถ้าเราไม่หวงกัน เราก็ไม่อด หมดก็มาเรื่อยๆ” เป็นคำของพระเจริญเอง ซึ่งสุทัสสา อ่อนค้อมไปเขียนใส่ให้เป็นคำพูดของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

หลักฐานนั้น ปรากฏอยู่ในหนังสือมักกะลีผล หน้าที่ 973 

เรื่องก่อนหน้านี้ก็คือ มีคนนำมะพร้าวมาถวายวัดปากน้ำ พระเจริญได้พูดคุยกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ประเด็นเกี่ยวกับการเมตตา การให้ หลังจากนั้น พระเจริญพูดว่า

“งั้นผมก็ได้ตำราจากหลวงพ่อแล้ว” พระหนุ่มพูดอย่างยินดี

“ตำราอะไรของเธอล่ะ” สมภารวัดปากน้ำถาม

ตำราที่ว่า  ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด หมดก็ไม่มา เราไม่หวงกันเราก็ไม่อด หมดก็มาเรื่อยๆ” ตำรานี้ใช้ได้ไหมครับ”

ดีเข้าท่าดี ตั้งแต่มาอยู่กับเรา เธอฉลาดขึ้นเยอะ.

ที่นำประเด็นนี้ขึ้นมาเสนอก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า สุทัสสา อ่อนค้อม นำข้อมูลของตัวละครตัวหนึ่ง ไปใส่ให้กับอีกตัวหนึ่ง โดยไม่พยายามรักษาลักษณะเด่นของตัวละครไว้

ทำให้ตัวละครไม่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง  ทำให้มั่วไปหมด 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น