บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

วิชาธรรมกายกับวิปัสสนา


เมื่อมหาโชดกเสร็จธุระกับหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว ก็จะกลับ 

ในขณะที่รอเรืออยู่นั้น สุทัสสา อ่อนค้อมก็บิดเบือนความจริงเกี่ยวกับวิชาธรรมกายอีกครั้ง

โดยให้พระเจริญกับมหาโชดกคุยกันว่า อย่างไหนดีกว่ากันระหว่างได้ธรรมกายก่อนแล้วมาเรียนวิปัสสนา ซึ่งก็หมายถึงยุบหนอพองหนอ หรือได้ยุบหนอพองหนอก่อนแล้วจึงมาเรียนวิชาธรรมกาย

สุทัสสา อ่อนค้อมจัดให้มหาโชดกตอบดังนี้

คนที่ได้ธรรมกายแล้ว มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน มักจะพบอุปสรรคในการปฏิบัติ แต่ก็เป็นอุปสรรคเฉพาะในตอนแรกๆ

ถ้าเขารู้จักกำหนดรู้เท่าทัน ไม่ติดอยู่ในนิมิตเครื่องหมายนั้น ก็จะก้าวหน้ากว่าคนที่ไม่ได้วิชาธรรมกายมาก่อน

พูดตามหลักวิชาก็คือ ธรรมกายนั้นเป็นสมถกรรมฐาน ผู้ที่ได้สมถะแล้วมาเจริญวิปัสสนา โดยเอาสมถะเป็นบาทฐาน จะสำเร็จมรรคผลเร็วกว่าคนที่ไม่ได้สมถะมาก่อน

แต่ถ้าเขายึดติดอยู่กับสมถะจนเกินไป การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า เข้าตำราสมถะเป็นอุปสรรคของวิปัสสนา

ส่วนคำถามที่ว่า เจริญวิปัสสนาก่อนแล้ว จึงมาเรียนธรรมกายนั้น เป็นคำถามที่ไม่ฉลาด เพราะ ไม่มีใครเขาทำกัน

ถ้าเธอสำเร็จวิปัสสนาแล้ว เธอจะมาเรียนธรรมกายไหม” ท่านย้อนถามลูกศิษย์

“ไม่ครับ ถ้ากระผมได้ของแท้แล้ว ของเทียมก็หมดความหมาย”

“นั่นสิ คนที่เขาได้วิปัสสนาแล้ว ก็จะไม่เรียนธรรมกาย ซึ่งเป็นสมถะ เพราะได้ของแท้แล้ว ย่อมไม่กลับมาเอาของเทียมเหมือนที่เธอว่า (หนังสือมักกะลีผล เล่ม 2 หน้า 1138-1139)

ขอทำความเข้าใหม่อีกครั้งหนึ่ง ข้อเขียนด้านบนนั้น สุทัสสา อ่อนค้อม หมายถึง ระหว่างคนเรียนวิชาธรรมกายแล้ว มาเรียนยุบหนอพองหนอ หรือว่าคนที่เรียนยุบหนอพองหนอแล้วมาเรียนวิชาธรรมกายอย่างไหนดีกว่านั้น

เนื่องจากสุทัสสา อ่อนค้อมก็โง่และปัญญาอ่อนเหมือนพระพม่ากับพระโชดกที่เห็นผิดไปว่า การเดินจงกรมไปมา มีสติอยู่กับอิริยาบถใหญ่ อิริยาบทย่อย แล้วพิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วย เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งไม่ใช่

นอกจากนั้น ยังเอาการปฏิบัติดังกล่าว จับยัดเข้าไปว่าเป็นสติปัฏฐาน  4 ซึ่งผมยอมรับได้ว่า การปฏิบัติแบบนั้น เป็นส่วนหนึ่งของสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น และไม่ใช่ส่วนที่สำคัญแต่ประการใด คือ

ถ้าไม่ทำแบบพระพม่า ก็สามารถไปนิพพานได้

ที่ผิดพลาดมากที่สุดก็คือ ไปป่าวประกาศโฆษณาว่า สติปัฏฐาน  4 เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งก็ไม่ใช่อีก  เพราะ

สติปัฏฐาน 4 เป็นอนุปัสสนา

ทำไม พระพม่าถึงเอาการเดินจงกรมไปมา มีสติอยู่กับอิริยาบถใหญ่ อิริยาบทย่อย แล้วพิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วย

สาเหตุก็มีประการเดียวคือ เพราะสติปัฏฐานสูตรมีข้อความนี้

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้

ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

๗ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี .
๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ๑

๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑

กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้ เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน  ๔ ประการ ฉะนี้แล

คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค)

ด้วยความด้อยปัญญาของพระพม่า หรืออาจจะด้วยความปัญญาอ่อนด้วย พระพม่าคิดว่า สติปัฏฐานสูตรเป็น “หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก” เพียงพระสูตรเดียว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ 

โพธิปักขยธรรมก็เป็นหนทางอันเอกหรือหนทางเดียวเหมือนกัน  อริยมรรค หรือ มรรค  8 ก็เป็นก็เป็นหนทางอันเอกหรือหนทางเดียวเหมือนกัน 

ก็เลยเอาสติปัฏฐาน  4 มาตีความให้แคบลง เหลือแค่เดินไปเดินมา พิจารณาพระไตรลักษณ์ไปด้วย ก็เป็นสติปัฏฐาน  4 แบบพม่าแล้ว 

ตีความกันแบบนี้ ถึงว่า ไปอบายภูมิกันเป็นแถว

ความปัญญาอ่อนแบบโง่ของมหาโชดกยังมีอีกมาก  ตอนนี้จะวิพากษ์วิจารณ์ไปทีละส่วน

คนที่ได้ธรรมกายแล้ว มาเจริญวิปัสสนากรรมฐานมักจะพบอุปสรรคในการปฏิบัติ แต่ก็เป็นอุปสรรคเฉพาะในตอนแรกๆ

ถ้าเขารู้จักกำหนดรู้เท่าทัน ไม่ติดอยู่ในนิมิตเครื่องหมายนั้น ก็จะก้าวหน้ากว่าคนที่ไม่ได้วิชาธรรมกายมาก่อน

วิชาธรรมกายไม่ได้ติดนิมิตอย่างที่มหาโชดกพูด วิชาธรรมกายต้อง “รู้” และ “เห็น” ไปตามหลักสูตร  ซึ่งก็ตรงกับคำสอนในพระไตรปิฎก

พูดตามหลักวิชาก็คือ ธรรมกายนั้นเป็นสมถกรรมฐาน ผู้ที่ได้สมถะแล้วมาเจริญวิปัสสนา โดยเอาสมถะเป็นบาทฐาน จะสำเร็จมรรคผลเร็วกว่าคนที่ไม่ได้สมถะมาก่อน

แต่ถ้าเขายึดติดอยู่กับสมถะจนเกินไป การปฏิบัติก็จะไม่ก้าวหน้า เข้าตำราสมถะเป็นอุปสรรคของวิปัสสนา

คำว่า “ติดอยู่กับสมถะจนเกินไป” อันนี้ก็เป็นการวิจารณ์โดยไม่รู้  ผมอยากจะเรียกว่า การวิจารณ์แบบสมองหมา ปัญญาควาย

มหาโชดกบ้าไปเอง ที่คิดว่า การปฏิบัติแบบยุบหนอพองหนอเป็นวิปัสสนา

แล้วไปเชื่อว่า ไม่ต้องปฏิบัติสมถกรรมฐานเลยก็ได้  ให้เริ่มวิปัสสนาเลยก็ได้  ณ ที่นี้ก็บอกก่อนว่า เป็นวิปัสสนาแบบผิด ไม่ใช่ถูกต้อง

คำสอนของมหาโชดกนั้น ขัดกับวิสุทธิมรรคอย่างชัดเจน เพราะ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น จะต้องได้ฌาน  8 ก่อนถึงจะได้ญาณ  16  

การจะได้ฌาน  8 ก็ต้องเรียนสมถกรรมฐานมาก่อน

สมถกรรมฐานของพระโชดกก็คือ พิจารณาเรื่องการตายเท่านั้น แล้วก็ถือว่า ผ่านสมถกรรมฐานแล้ว  บ้าสิ้นดี........

ไม่มีใครเขาจะติดสมถกรรมฐานตลอดไปในขั้นตอนเรียนที่สูงขึ้น คือ พูดง่ายๆ ว่า ในการเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ใครจะมาติดอยู่กับสมถกรรมฐาน 

วิพากษ์วิจารณ์แบบควายๆ จริงๆ  ตัวเองไม่รู้แต่อยากจะโจมตีเขา ก็เลยแสดงความเป็นควายออกมา ป่านนี้ หญ้าในอบายภูมิไม่ยุบไปเยอะแล้วเรอะ ก็ลงกันไปมากแล้ว

ส่วนคำถามที่ว่า เจริญวิปัสสนาก่อนแล้ว จึงมาเรียนธรรมกายนั้น เป็นคำถามที่ไม่ฉลาด เพราะ ไม่มีใครเขาทำกัน

ถ้าเธอสำเร็จวิปัสสนาแล้ว เธอจะมาเรียนธรรมกายไหม” ท่านย้อนถามลูกศิษย์

ขอย้ำอีกครั้งว่า ข้อความข้างต้น หมายถึง การเรียนยุบหนอพองหนอแล้ว จึงมาเรียนวิชาธรรมกาย ไม่มีใครเขาทำกัน

ประเด็นที่ว่า คนเรียนยุบหนอพองหนอแล้วไม่มาเรียนวิชาธรรมกายนั้น มีจริง เพราะ ก็พวกมหาโชดกไปเสือกโกหกหลอกลวงเขาไว้ 

คนที่ฉลาดเขาจับได้ เขาก็ทิ้งยุบหนอพองหนอทั้งนั้น แต่คนฉลาดในสายยุบหนอพองหนอมันไม่มี

ผมเองในฐานะที่เรียนทั้ง 2 แบบมาแล้ว  สายยุบหนอพองหนอไม่มีหลักปฏิบัติที่เป็นเอกสารที่ชัดเจน   สอนได้แค่เดินไปเดินมาเท่านั้น  สูงจากนั้น ไม่มีตำรา

ที่มั่วไปว่า “สอบอารมณ์” เป็นเรื่องของความมั่วทั้งผู้เรียนผู้ถาม เพราะ จำไปตอบกันได้ ไม่ใช่ความรู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติธรรม

พระพม่าคิดยุบหนอพองหนอมาได้ ค่อยมาจับใส่สติปัฏฐาน 4 ไปลักเอาญาณ 16 ของคัมภีร์วิสุทธิมรรคมา  แต่ไม่เอาสมถกรรมฐานกับฌาน  8 มาด้วย แล้วเสือกกลับไปโจมตีฌาน  8 ของคัมภีร์วิสุทธิมรรคอีก

มันโง่เป็นควายกับทั้งพระพม่า พระไทยสาวก แล้วสานุศิษย์ทั้งหลาย ที่โง่มากกว่าเพื่อนก็คือ สุทัสสา อ่อนค้อมนี่แหละ เพราะ เสือกมาเขียนเอากรรมชั่วใส่ตัวเสียอย่างนั้น..........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น